Pages

Thursday, July 23, 2020

ถ้าไม่มีโควิด วันนี้ "โอลิมปิก 2020" เปิดฉากการแข่งขัน - ไทยรัฐ

gentongempal.blogspot.com

ถึงแม้กำหนดการจะเลื่อนออกไป แต่เจ้าภาพญี่ปุ่นก็ได้เตรียมความพร้อมเอาไว้เกือบหมดแล้ว ซึ่งทีมข่าวไทยรัฐสปอร์ตจะพาไปย้อนดูว่า การแข่งขันครั้งนี้มีอะไรที่พิเศษและน่าสนใจบ้าง

ชาติแรกในเอเชียที่ได้เป็นเจ้าภาพ “โอลิมปิก” ฤดูร้อน 2 ครั้ง

ย้อนกลับไปในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี ครั้งที่ 123 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา วันที่ 7 กันยายน 2013 หนึ่งในวาระสำคัญของการประชุมคือ การโหวตเลือกเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 2020 และผลปรากฏว่า กรุงโตเกียว ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 60 คะแนน ซึ่งเป็นการเอาชนะนครอิสตันบูลของตุรกี ที่ได้ไปเพียง 36 คะแนนเท่านั้น ในการโหวตรอบที่สอง

ทำให้ ญี่ปุ่น กลายเป็นชาติแรกของทวีปเอเชีย ที่ได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนถึง 2 ครั้ง คือในปี 1964 และ 2020 ขณะโซล (เกาหลีใต้) และ ปักกิ่ง (จีน) ได้เป็นเจ้าภาพชาติละ 1 ครั้งเท่านั้น คือในปี 1988 และ 2008 ตามลำดับ

ทุ่มงบพัฒนาระบบพื้นฐาน

หลังทราบข่าวดี รัฐบาลญี่ปุ่นได้นำงบมาใช้ในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 95,000 ล้านบาท) ในระบบขนส่ง ทั้งสนามบินและระบบราง รวมถึงการสร้าง “เจแปน เนชั่นแนล สเตเดียม” ซึ่งเป็นสนามกีฬาหลัก ที่ใช้ในพิธีเปิดและปิด ฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศ และการแข่งขันกรีฑา ขึ้นมาใหม่เมื่อปี 2016 โดยสามารถจุผู้ชมได้ 60,000 ที่นั่ง และสามารถขยายความจุ เพื่อรองรับแฟนกีฬาในอนาคตได้ถึง 80,000 ที่นั่ง

นอกจากนี้ ฝ่ายจัดการแข่งขันของญี่ปุ่น ยังได้ทุ่มงบในการสร้างบ้านพักนักกีฬาในย่านฮารูมิ ฟูโตะ และสนามที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาชนิดต่างๆ ขึ้นมาใหม่อีก 11 สนามด้วยเช่นกัน

บรรจุกีฬาเอาใจคนรุ่นใหม่

ในโอลิมปิก 2020 ฝ่ายจัดการแข่งขัน ได้เห็นชอบร่วมกันกับ ไอโอซี ให้มีการบรรจุกีฬาชนิดใหม่ เข้าชิงชัยเหรียญทองหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็น บาสเกตบอล 3X3, จักรยานบีเอ็มเอ็กซ์, ปีนหน้าผา, คาราเต้, กระดานโต้คลื่น และสเกตบอร์ด ซึ่งทั้งหมดถือเป็นกีฬาของคนรุ่นใหม่ ที่กำลังเติบโต และได้รับความนิยมไปทั่วโลก

ขณะที่ เบสบอล และซอฟต์บอล ก็ถูกนำกลับมาบรรจุในการแข่งขันอีกครั้งเช่นกัน หลังห่างหายจากชิงเหรียญไปนานตั้งแต่ปี 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นเจ้าภาพ

โอลิมปิกรักษ์โลก เหรียญรางวัลทำจากวัสดุรีไซเคิล

สำหรับเหรียญรางวัลในโอลิมปิก 2020 ได้มีการประกวดคัดเลือกผลงานกว่า 400 ชิ้น ทั้งจากดีไซน์มืออาชีพและนักออกแบบสมัครเล่น ก่อนที่ผลงานของ จูนิจิ คาวานิจิ จะได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ

นอกจากนี้ ความพิเศษของเหรียญรางวัลครั้งนี้ คือการนำเอาขยะรีไซเคิลมาเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป้าหมายในการรับบริจาคขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 50,000 ตัน จะถูกนำไปแยกแร่ทองคำให้ได้น้ำหนัก 30.3 กก. แร่เงิน 4,100 กก. และทองแดง 2,700 กก. ซึ่งคาดว่าจะผลิตเหรียญรางวัลในโอลิมปิก และพาราลิมปิกได้มากกว่า 5,000 เหรียญ

โชว์เทคโนโลยีสู่สายตาชาวโลก

ขึ้นชื่อว่าญี่ปุ่น แน่นอนว่าสิ่งแรกที่ชาวโลกนึกถึง คือความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี และในโอลิมปิก “โตเกียวเกมส์” ครั้งนี้ก็เช่นกัน เมื่อฝ่ายจัดการแข่งขันได้ร่วมมือกับองค์กรชั้นนำของประเทศอย่าง โตโยต้า เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ เข้ามาช่วยทุ่นแรงระหว่างการแข่งขัน

สำหรับหุ่นยนต์ที่คาดว่าจะนำมาใช้งาน แบ่งออกเป็นหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น หุ่นที่ใช้ต้อนรับกองเชียร์และนักกีฬา และหุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขัน ที่จะนำช่วยเก็บอุปกรณ์กรีฑาทั้งในประเภทลู่และลาน

มาสคอต

สำหรับมาสคอตประจำการแข่งขันโอลิมปิก และพาราลิมปิก 2020 ถูกออกแบบโดย “ริว ทานิกูชิ" ซึ่งได้รับเสียงโหวตจากแฟนกีฬาในญี่ปุ่นสูงถึง 109,041 คะแนน ทิ้งห่างอันดับสองเกือบเท่าตัว

สำหรับมาสคอตทั้งสองแบบที่ได้รับเลือก เป็นตัวการ์ตูนลายตาหมากรุกสีขาว-น้ำเงิน ซึ่งเป็นสีประจำการแข่งขันโอลิมปิกชื่อว่า “MIRATOWA” และ “SOMEITY” มาสคอตประจำมหกรรมกีฬาพาราลิมปิก 2020 เป็นตัวการ์ตูนรูปผู้หญิงสีชมพู

โลโก้โอลิมปิก

สำหรับโลโก้ของโอลิมปิกในครั้งนี้ เดิมที เคนจิโร ซาโนะ นักออกแบบชาวญี่ปุ่น เป็นผู้ชนะเลิศการประกวด แต่หลังจากนั้นไม่นานมีการแฉว่า โลโก้ดังกล่าวได้ไปเลียนแบบไอเดียของดีไซเนอร์ชาวเบลเยียม และคล้ายคลึงกับโลโก้โรงละครแห่งหนึ่งในประเทศเบลเยียม จนกระทั่งมีการฟ้องร้องอย่างใหญ่โต  

ทำให้ฝ่ายจัดการแข่งขันโอลิมปิก 2020 ต้องจัดการประกวดโลโก้ใหม่ ก่อนที่ อาซาโอะ โตโกโละ จะเป็นผู้ชนะเลิศไปในที่สุด ซึ่งโลโก้ใหม่นี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากรูปทรงเรขาคณิต และความกลมกลืนของตาหมากรุกในรูปทรงกลม หรือคล้ายกับมงกุฎช่อมะกอก ที่มอบเป็นรางวัลให้กับนักกีฬาในโอลิมปิกยุคโบราณ    

ขณะที่หลังการประกาศเลื่อนโอลิมปิก ไปแข่งขันในปี 2021 ก็ได้มีสถานีโทรทัศน์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกาอย่าง NBC นำเสนอโลโก้แบบใหม่ออกมา ซึ่งเป็นการนำเอาตัวเลข 2020 มารวมกับคำว่า ONE ในภาษาอังกฤษ ออกมาเป็นโลโก้ “2020NE” สุดเก๋ แต่การออกแบบดังกล่าว ไม่ใช่โลโก้ใหม่ของการแข่งขันโอลิมปิกอย่างที่หลายคนเข้าใจ.

Let's block ads! (Why?)



"ถ้า" - Google News
July 23, 2020 at 04:15PM
https://ift.tt/2WLrq0T

ถ้าไม่มีโควิด วันนี้ "โอลิมปิก 2020" เปิดฉากการแข่งขัน - ไทยรัฐ
"ถ้า" - Google News
https://ift.tt/2BjqBEF
Home To Blog

No comments:

Post a Comment