วันนี้ (29 กันยายน) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานการเสวนาในชุดโครงการเสวนา #ถ้าการเมืองดี EP.2 โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ ขิม-ธนาภรณ์ พรหมภัทร์, พลอย-เบญจมาภรณ์ นิวาส จากกลุ่มนักเรียนเลว, มะฮ์ดี-จักรธร ดาวแย้ม จากกลุ่มมาร์กซิสต์ศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ลี-เกียรติวงศ์ สงบ จากกลุ่มไทยภักดี และ อั่งอั๊ง-อัครสร โอปิลันธน์ ดำเนินรายการโดย ประจักษ์ ก้องกีรติ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เริ่มต้นการเสวนาในประเด็นแนวคิดเรื่องชาติ อนาคตของชาติและอนาคตของสังคมไทย โดย ขิม-ธนาภรณ์ พรหมภัทร์ มองว่า ชาติกับการเมืองเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ ธนาภรณ์เปรียบเทียบว่าชาติคือโปรเจกต์ที่ทุกคนต้องพาโปรเจกต์นี้ไปสู่ความสำเร็จ แต่คำว่าชาติทุกวันนี้ถูกทำให้เป็นงานกลุ่มที่ทำอยู่คนเดียว ไอเดียมาจากคนคนเดียว เพราะฉะนั้นความหมายของชาติที่เป็นอยู่จึงไม่ได้เหมาะกับทุกคน แต่คำว่าโปรเจกต์เรื่องชาติในโลกของประชาธิปไตยก็คืองานกลุ่มที่ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม
ธนาภรณ์ยังได้กล่าวถึงปัญหาการเรียนการสอน โดยเฉพาะในรายวิชาสังคมที่ปัจจุบันไม่ได้เน้นการสอนเรื่องสิทธิ แต่เน้นเรื่องหน้าที่ และมีความพยายามที่จะทำให้เรื่องการเมืองเป็นเรื่องที่ไกลตัวเด็กออกไป ทำให้เกิดสิ่งที่แย่ที่สุดคือทำให้การเมืองเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับเด็ก
ขณะที่ อั่งอั๊ง-อัครสร โอปิลันธน์ กล่าวว่า ตนเรียนนานาชาติมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งปัญหาที่เด็กนานาชาติไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวกับการเมืองก็มาจากหลายเหตุผล ทั้งเรื่องภาษาที่หลายคนไม่ค่อยถนัดภาษาไทย เพื่อนของตนร้อยละ 90 ก็ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก นอกจากนี้ยังมีเหตุผลที่ตนได้ถามเพื่อนหลายคน ก็มีทั้งที่พ่อแม่บอกว่าการเมืองเป็นเรื่องสกปรก ซึ่งอัครสรมองว่านี่คือการมองการเมืองในมุมมองของคนรุ่นก่อน แต่เราในฐานะคนรุ่นใหม่ต้องนิยามการเมืองแบบใหม่ ทำการเมืองให้เป็นการเมืองที่ขาวสะอาด เราทุกคนต้องร่วมพาสังคมไปสู่การเป็นสังคมที่ไร้ความสิ้นหวังและผ่านพ้นสังคมแห่งความกลัว การเมืองเป็นเรื่องของทุกคนตั้งแต่เรื่องรถไฟฟ้า สายไฟ และร่างกายของพวกเราทุกคน
“การเมืองที่หนูเห็นอยู่ตอนนี้คือการเมืองแห่งความเหลื่อมล้ำ เป็นการเมืองแห่งความไม่เท่าเทียม เป็นการเมืองแห่งความสิ้นหวัง” อัครสรกล่าว
ด้าน ลี-เกียรติวงศ์ สงบ จากกลุ่มไทยภักดี กล่าวถึงจุดเริ่มต้นที่ตนเองเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองตั้งแต่สมัยการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยตนเองสนใจด้านกฎหมาย ในเวลาต่อมาตนก็ชอบโพสต์เฟซบุ๊กแซวเรื่องการเมืองจนเข้าตา นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม แกนนำกลุ่มไทยภักดี จึงได้ทาบทามเข้าร่วมกิจกรรมกับทางกลุ่มไทยภักดี นอกจากนี้เกียรติวงศ์ยังได้กล่าวถึงการเรียกร้องสิทธิสวัสดิการ ซึ่งเขาระบุว่าไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย แต่ต้องดูความเป็นไปได้ด้วย
“เราต้องรู้จักความพอดีของตัวเราก่อน ความอยากมี อยากได้ มันเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนต่างออกมาเรียกร้องโดยที่ไม่รู้จักคำว่าพอดีในตัวเอง ทำให้ทุกอย่างมันวุ่นวาย แล้วอะไรคือกรอบที่ทำให้พวกเราทุกคนรู้จักคำว่าพอดี ผมยืนยันว่าสิ่งนั้นคือหน้าที่” เกียรติวงศ์กล่าว
ติดตามการเสวนาฉบับเต็มได้ที่ https://web.facebook.com/thestandardth/videos/332309524516204
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า
"ถ้า" - Google News
September 29, 2020 at 11:01AM
https://ift.tt/2EKsjkp
มุมมองต่อ ชาติ สวัสดิการ สิทธิและหน้าที่บนเวที 'ถ้าการเมืองดี' ที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ - thestandard.co
"ถ้า" - Google News
https://ift.tt/2BjqBEF
Home To Blog
No comments:
Post a Comment