เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2563 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์โควิด-19 ในไทย ไม่พบผู้ป่วยเพิ่ม รวมผู้ติดเชื้อสะสม 3,135 คน เสียชีวิต 58 ราย หายแล้ว 2,987 คน โดยไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศ ติดต่อกัน 21 วันแล้ว
ขณะที่ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า
"โควิด-19 เป็นได้ทั้งไม่มีอาการ มีอาการน้อย จนถึงอาการมากปอดบวม จากการศึกษาที่ผ่านมาผู้ป่วยติดเชื้อแบบไม่มีอาการ พบได้ตั้งแต่ 5 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้ว่าในผู้ที่ไม่มีอาการ โอกาสจะแพร่เชื้อได้น้อยกว่าผู้ที่มีอาการ หรืออาจกล่าวได้ว่าผู้ที่ไม่มีอาการน่าจะมีไวรัส ในบริเวณลำคอ น้อยกว่าผู้ที่มีอาการ แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะแพร่เชื้อได้
ผู้ที่ไม่มีอาการจะพบว่ามีอายุน้อยกว่าผู้ที่มีอาการ ในการควบคุมการระบาดของโรค เราให้ความสำคัญกับผู้ที่ไม่มีอาการด้วย จึงมีการตรวจเชิงรุก สุ่มในประชากรที่เป็นกลุ่มก้อน หรือในแหล่งระบาดโรค
ในประเทศจีนที่กรุงปักกิ่ง ถึงแม้จะไม่พบโรคมาแล้วถึง 50 วัน มีผู้ป่วยเกิดขึ้น และมีอาการ และแพร่กระจายออกไป เมื่อมีการตรวจเชิงรุก ในผู้สัมผัสจำนวนว่า กลับพบว่ามีผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 คน ในการติดเชื้อจำนวนมากนี้ ทำให้ต้องวางมาตรการเข้มข้นขึ้น และสวนเชิงลึกในประชากรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อควบคุมโรคให้ได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะแพร่กระจายไปกว้างขวางกว่านี้
สำหรับประเทศไทย มีแรงงานต่างด้าวที่อยู่เป็นกลุ่มก้อน และยังมีแรงงานที่รอกลับสู่ประเทศไทย รวมทั้งชาวประมง ที่ไปหาปลาไกลถึงอินเดียและอินโดนีเซีย มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนปลา เรามีพรมแดนธรรมชาติอีกจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นทางบกและทางทะเล เราสามารถควบคุมทางอากาศได้ดี ทุกคนในประเทศจะต้องช่วยกัน ปกป้องตัวเองและปกป้องบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงเรา
ในฤดูฝน ความชื้น และอุณหภูมิที่ลดลง จะทำให้เชื้อ โควิด-19 อยู่ได้นานขึ้น การแพร่กระจายก็จะได้ง่ายขึ้นกว่าฤดูร้อน เดือนเมษายนและพฤษภาคมแน่นอน ถ้าระบาดในรอบ 2 เราจะควบคุมยากกว่ารอบแรก โอกาสที่จะไปใช้มาตรการแบบครั้งแรก จะยากขึ้นเพราะทุกคนเดือดร้อน"
นอกจากนี้ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ยังโพสต์อีกว่า "การระบาดของโรค โควิด-19 กับการหาแหล่งที่มาของโรค
ในการระบาดของโรค โควิด-19 ในกรุงปักกิ่งประเทศจีน มีการสืบสวนว่ามีการระบาดในตลาดแห่งหนึ่ง มีการพบเชื้อไวรัสที่เขียงปลาแซลมอน รวมทั้งมีผู้ป่วยทั้งที่มีอาการ และไม่มีอาการ
การตรวจรหัสพันธุกรรมของไวรัส จะช่วยให้ทราบในรายละเอียดของที่มาของไวรัส ไวรัสที่พบในเขียงปลาแซลมอน หรือในตัวแซลมอน และในคน ควรมีรหัสพันธุกรรมเดียวกัน หรือใกล้กันมากที่สุด สายพันธุ์ที่พบก็พอจะบอกได้ ว่าสายพันธุ์นั้นเหมือนกับที่ระบาดอยู่ในประเทศอะไร หรือเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในจีนดั้งเดิม
ถ้าพบว่าเป็นสายพันธุ์ในประเทศที่ต้นทางของปลาแซลมอน ก็จะได้เป็นหลักฐานอีกอย่างหนึ่งว่า มีการติดปนเปื้อนมาตั้งแต่ต้นทาง แหล่งผลิตปลาแซลมอน เช่น ถ้าเป็นสายพันธุ์ยุโรปเหนือ ก็จะมีลักษณะจำเพาะ
ในการระบาดในประเทศไทย ในระยะรอบแรก สายพันธุ์ที่ติดกันเองในประเทศไทย จะมีลักษณะจำเพาะ
ศูนย์ จุฬาทำวิจัย ตั้งชื่อสายพันธุ์นี้ว่า T-strain เพราะมีการเปลี่ยนกรดอะมิโน 1 ตำแหน่ง เป็น Threonine และ T ก็ตรงกับไทยแลนด์ ไม่พบในประเทศอื่น และเมื่อไม่มีการระบาดในประเทศไทยแล้ว สายพันธุ์นี้ควรจะหมดไป
ถ้าเกิดการระบาดในรอบสองในประเทศไทย การตรวจพันธุกรรมของไวรัส จะเป็นตัวช่วยบ่งบอก ที่มาของไวรัส ว่าน่าจะมาจาก แหล่งใด เพราะมีลักษณะแตกต่าง ที่เรียกว่า polymorphism เหมือนกับคนเรา ผิวขาว ผิวดำ ผิวเหลือง หรือ ผมสีบลอนด์ ผมสีดำ ตาสีฟ้า หรือ ตาสีน้ำตาล ที่เกิดโดยธรรมชาตินะครับไม่ใช่ไปย้อมมา
การถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัส จะบ่งบอกเอกลักษณ์ของตัวไวรัส เมื่อนำมาเปรียบเทียบ ก็อาจพอจะบอกได้ ว่าใกล้เคียงหรือมาจากแหล่งใด การระบาดของไวรัสที่ในกรุงปักกิ่งครั้งนี้ เชื่อว่าอีกวันสองวัน ทางจีนคงแถลงว่าไวรัสที่พบ มีสายพันธุ์คล้ายกับที่กำลังระบาดอยู่ในประเทศใด จะเกี่ยวข้องกับปลาแซลมอน หรือต้นทางการผลิตปลาแซลมอนหรือไม่ คำตอบคงออกมา
ถ้าสัมผัสอยู่ในปลาแซลมอน และเหมือนกับต้นทางผู้ผลิตปลาแซลมอน ก็จะได้องค์ความรู้ ความปลอดภัย เรื่องอาหารแช่แข็ง และมีการนำเข้า ก็อาจจะนำเข้ามาพร้อมกับเชื้อโรค เห็นไหม การเรียนวิทยาศาสตร์ และใช้องค์ความรู้ในการวิจัย จะมีประโยชน์อย่างมาก"
ชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/WjAqN4ipuAQ
"ถ้า" - Google News
June 15, 2020 at 08:22PM
https://ift.tt/2YCO4IW
หมอยง เตือนถ้าระบาดรอบ 2 คุมยากกว่ารอบแรก ยกเคสจีนเป็นตัวอย่าง - ข่าวช่อง3 - CH3 Thailand NEWS
"ถ้า" - Google News
https://ift.tt/2BjqBEF
Home To Blog
No comments:
Post a Comment